วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่15

สาเหตุของโรคแอลดี
เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่

§  พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
§  แม่มีอายุน้อยมาก
§  เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
§  เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
§  เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
§  เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น


การวินิจฉัยทางการแพทย์
ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่
ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
·           มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อน
§  กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
§  ครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
§  ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
§  ถูกเพื่อนแกล้ง
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง

การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว

§  พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้ เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว เด็กไม่ได้ต้องสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
§  สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่าตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง และภาคภูมิใจในตนเอง
§  พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ อีคิว (EQ) มากกว่าผลการเรียนดีเลิศของเด็ก
§  พ่อแม่ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก ไม่ตี
§  พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
§  ปลอดภัยจากสารพิษ เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
§  เวลาทองของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ ขีดเขียนวาดภาพ หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
§  งานบ้านฝึกสมอง ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่ หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น