วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่16

สอบปลายภาค



สัปดาห์ที่15

สาเหตุของโรคแอลดี
เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่

§  พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
§  แม่มีอายุน้อยมาก
§  เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
§  เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
§  เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
§  เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น


การวินิจฉัยทางการแพทย์
ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่
ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
·           มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อน
§  กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
§  ครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
§  ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
§  ถูกเพื่อนแกล้ง
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง

การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว

§  พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้ เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว เด็กไม่ได้ต้องสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
§  สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่าตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง และภาคภูมิใจในตนเอง
§  พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ อีคิว (EQ) มากกว่าผลการเรียนดีเลิศของเด็ก
§  พ่อแม่ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก ไม่ตี
§  พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
§  ปลอดภัยจากสารพิษ เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
§  เวลาทองของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ ขีดเขียนวาดภาพ หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
§  งานบ้านฝึกสมอง ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่ หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น


สัปดาห์ที่14


สรุปการเรียน

เด็กพิเศษ
ดูแลด้วยความรัก พัฒนาด้วยความเข้าใจ








   เด็กพิเศษ หรือเรียกเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือกลุ่มเด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ด้วยวิธีการปกติตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูตามปกติ หรือการเรียนการสอนตามปกติทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่มีอยู่ในตัวเด็ก ทางด้านร่างกาย สติปัญญา พฤติกรรม อารมณ์ หรือสัมพันธภาพทางสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการพิเศษ เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีศักยภาพเต็มตามที่มีอยู่ได้
มีหลายมุมมองทางความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งไม่มีผิด ไม่มีถูก เพียงแต่ต้องมีการทบทวนความคิดอย่างเข้าใจ และพัฒนามุมมองของเราเองให้ถูกต้องตามที่เห็นว่าควรเป็น
บางคนมองว่า อย่าไปบังคับเด็กเลย สงสารเด็ก
บางคนก็มองว่า ทำไมไม่ฝึกเด็กล่ะ เดี๋ยวก็ทำอะไรไม่เป็นหรอก
บางคนก็มองว่า เด็กก็ทำได้แค่นี้ จะไปเอาอะไรมากมาย
บางคนก็มองว่า เดี๋ยวโตขึ้นก็ดีเอง อย่าไปกังวลเกินเหตุ
บางคนก็มองว่า ต้องทุ่มเทฝึกกระตุ้นเด็กให้เต็มที่เท่าที่มีแรงทำ
แนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็ตาม ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลด้วยความรัก แล้วค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็จะไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ไม่ยาก
การดูแลด้วยความรัก ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมีอยู่เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเน้นย้ำ เนื่องจากในความรักที่มีอยู่นี้ มักจะถูกบดบังด้วยความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ และความรู้สึกอื่นๆ อีกมากมายในบางช่วงเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาได้ในการดูแล แต่จำเป็นต้องหาวิธีจัดการความรู้สึกต่างๆ อย่างเหมาะสมต่อไป
สำหรับการพัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้วต้องมีกระบวนการพัฒนาที่พิเศษ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ หลักเบื้องต้นง่ายๆ ในการพัฒนา คือ
เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย
เด็กเป็นตัวตั้ง” กล่าวคือ ไม่มีสูตรสำเร็จรูปสำหรับการดูแลเด็กพิเศษทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอายุ ควรเข้าใจธรรมชาติที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกัน เด็กอาจมีความบกพร่องในบางด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในบางด้านเช่นกัน การมองแต่ความบกพร่องบางด้าน และคอยแก้ไขความบกพร่องไปเรื่อยๆ ก็อาจถึงทางตันในที่สุด ควรหันกลับมามองในด้านความสามารถของเด็กด้วยว่าเด็กมีความสามารถด้านใดบ้าง เพื่อวางแผนการดูแล ให้การส่งเสริมความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยชดเชยความบกพร่องที่มีอยู่ได้


วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่13

สรุปการเรียน


แนวทางการดูแลรักษาและการป้องกันกลุ่มอาการดาวน์ ได้แก่
1.            การดูแลรักษาเด็กที่เป็น กลุ่มอาการดาวน์ เนื่องจากเป็นโรคของพันธุกรรม จึงไม่มียารักษาได้นอกจากจะไม่ให้เด็กเกิดออกมา แต่เมื่อเด็กเกิดออกมาแล้ว การดูแลเด็กเหล่านี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และสังคมรอบข้างร่วมกัน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และไม่ก่อปัญหากับสังคมต่อไป
o    ในเด็กแรกเกิด จะต้องตรวจภาพอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram) ถ้าพบมีหัวใจพิการ ก็อาจต้องผ่าตัดรักษา รวมทั้งตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น ถ้าพบหลอดอาหารตัน ก็ต้องผ่าตัดรักษา
o    การตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ในเด็กแรกเกิด และตรวจต่อ เนื่องต่อไปทุกปี เพื่อประเมินว่ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องให้ยารักษา เพื่อไม่ให้ระดับสติปัญญาแย่ลงไปกว่าเดิม
o    การตรวจดูเม็ดเลือดเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงวัยทารกและวัยเด็ก เพราะมี ความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
o    การตรวจเอ็กซเรย์ภาพกระดูกสันหลังส่วนคอ เพื่อประเมินและรักษาหากพบว่ามีข้อต่อของกระดูกที่หลวม
o    การตรวจการได้ยินตั้งแต่วัยทารก และตรวจเป็นประจำทุกปี หากการได้ยินลดลง ก็ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
o    การตรวจตาตั้งแต่วัยทารก และตรวจเป็นประจำทุกปี
o    การให้วัคซีนตามกำหนดเหมือนเด็กปกติทั่วไป
o    ดูแลเรื่องอาหาร ให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนและเหมาะสม เนื่องจากผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนได้ง่าย จึงต้องระวังการบริโภคแป้ง น้ำตาลและไขมันมากเกินไป และต้องให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
o    การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่วัยทารก เมื่อถึงวัยต้องเข้าเรียน ต้องประเมินระดับสติปัญญาของเด็กว่าจะสามารถเรียนร่วมชั้นกับเด็กทั่วไปได้หรือ ไม่ โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถเรียนผ่านในชั้นประถมได้ เมื่อถึงระดับมัธยม ถ้าเด็กเรียนไม่ไหว ก็ต้องให้ออกจากโรงเรียนปกติ ไม่ควรฝืนบังคับให้เด็กเรียนต่อไป และมองหาอาชีพที่เหมาะสมให้ บางคนก็สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เช่น ดาราตลกชื่อดังของเมืองไทยก็เป็นโรคนี้ หรือในต่างประเทศเช่นกัน ก็มีนัก แสดงหลายคนที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้
o    เมื่อเด็กผู้หญิงถึงวัยเจริญพันธุ์ อาจจำเป็นต้องป้องกันการตั้งครรภ์โดยให้ยาคุมกำเนิด เพราะถ้าตั้งครรภ์ขึ้นมา โอกาสที่ลูกของผู้ป่วยจะเป็นกลุ่มอาการนี้มีถึง 50% โดยไม่ขึ้นกับอายุตอนที่ตั้งครรภ์ สำหรับในผู้ชาย แม้ส่วนใหญ่จะเป็นหมัน แต่ก็อาจมีลูกได้ ควรเน้นย้ำถึงวิธีป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย
2.            การให้ข้อมูลคำปรึกษากับพ่อแม่ที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่ง เรียกว่า Genetic counseling
o    สำหรับพ่อแม่ที่มีโครโมโซมปกติ เมื่อพ่อแม่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ แล้ว 1 คน โอกาสที่ลูกคนต่อไปจะเป็นโรคนี้คือประมาณ 1% แม้ว่าแม่จะอายุน้อยก็ตาม แต่ถ้าแม่มีอายุมากแล้ว โอกาสก็จะมากกว่านี้ สำหรับพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เมื่อแต่งงานมีลูก ความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้น คือมีความเสี่ยงเหมือนคนปกติทั่ว ไปดังได้กล่าวแล้ว
o    สำหรับพ่อแม่ที่เป็นพาหะ ในกรณีที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ และได้ตรวจลูกพบว่ามีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 เพิ่มขึ้นจากผลของการมี Robert sonian translocation เกิดขึ้น แสดงว่ามีพ่อ หรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของ กลุ่มอาการดาวน์ อยู่ ดังนั้นทั้งพ่อและแม่จะต้องมาตรวจหาโครโมโซม
ในกรณีที่แม่เป็นพาหะแบบที่มี Robertsonian translocation ระหว่างโครโมโซมแท่งที่ 21 กับแท่งอื่นๆ จะมีโอกาสที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 10-15% แต่ถ้าเป็นพ่อที่เป็นพาหะ โอกาสที่จะมีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 2-3% เหตุใดจึงมีเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันระหว่างพ่อและแม่นั้น ยังไม่มีผู้อธิบายได้
นอกจากนี้ พี่น้องที่ปกติของผู้ป่วยที่เป็น กลุ่มอาการดาวน์แบบนี้ จะต้องตรวจดูโครโมโซมทุกคนด้วย เนื่องจากอาจมีใครคนใดคนหนึ่งที่รับโครโมโซมที่ผิดปกติมาจากพ่อ หรือแม่ที่เป็นพาหะ แล้วกลายเป็นพาหะด้วยเช่นกัน ซึ่งจะได้ทราบความเสี่ยงที่ตนเองจะมีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์เช่นเดียวกับพ่อและแม่
แต่ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะแบบที่มี Robertsonian translocation ระหว่างโครโมโซมแท่งที่ 21 กับ 21 ด้วยกัน โอกาสที่จะมีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 100% คือมีลูกกี่คน ก็จะเป็นโรคนี้ทุกคน